ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยววัดกรุงเทพฯ ชม 9 วัดพระประธานแปลก ที่คุณไม่ควรพลาด  (อ่าน 115 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 426
    • ดูรายละเอียด
เที่ยววัดกรุงเทพฯ ชม 9 วัดพระประธานแปลก ที่คุณไม่ควรพลาด

เมืองไทยเมืองแห่งพุทธศาสนา "วัด" จึงเป็นพุทธศาสนสถานที่ชาวพุทธอย่างเราใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และยังกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปด้วย แค่ในกรุงเทพฯ ก็มีวัดสวยงามมากมาย ทั้งวัดเก่าและวัดที่สร้างขึ้นมาใหม่ รวมถึงการเที่ยวชมพระประธานประจำพระอุโบสถ ที่แต่ละวัดล้วนงดงามด้วยเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของวัดนั้น เหมือนกับที่ คุณ

              9 วัดพระประธานแปลก ในเขตกรุงเทพมหานคร

          กระทู้รีวิววันนี้ไม่ใช่กระทู้ท่องเที่ยวที่ไปมาสด ๆ ร้อน ๆ แต่เป็นการสรุปรวมจากหลาย ๆ วัดที่ผมไปเที่ยวมา ซึ่งแต่แรกผมก็ไม่ค่อยสนใจในการเที่ยววัดเท่าไร จนช่วงปี 1 (ปี 2554) เป็นช่วงที่ผมเพิ่งมีกล้องถ่ายรูปส่วนตัวไม่นานนัก และมหาวิทยาลัยผมมันก็อยู่ใกล้กับวัดสระเกศฯ รวมไปถึงสามารถเดินทางไปยังวัดสำคัญ ๆ ในกรุงเทพมหานครหลายวัดได้โดยสะดวก นับตั้งแต่วันที่ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวถ่ายรูปภูเขาทองที่วัดสระเกศฯ ก็ทำให้ผมเป็นคนที่ชอบเที่ยวตามวัดหรือแหล่งประวัติศาสตร์ต่าง ๆ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งขณะที่ผมกำลังตั้งกระทู้นี้อยู่ผมไปเที่ยวมาแล้ว 555 วัด (เลขสวยซะด้วย)

          และจากการที่ผมไปเที่ยวมาหลายวัดก็ทำให้ผมได้พบกับหลายวัดที่มีพระประธานสวยงาม หรือปางแปลก ๆ ประดิษฐานอยู่ โดยที่บางวัดอาจจะเป็นวัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนไม่ค่อยรู้จัก หากแต่ถ้าได้เข้ามาชมแล้วก็จะได้พบกับสิ่งสวยงามที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่

          **หัวกระทู้เขียนว่าวัดพระประธานแปลกก็จริง แต่บางวัดก็ไม่เชิงว่าแปลก แต่แค่ไม่ค่อยพบพระพุทธรูปปางนี้เป็นพระประธานในโบสถ์ นั่นแหละครับคือสิ่งที่ว่าแปลก หรือบางวัดก็เป็นวัดที่พระประธานมีความสวยงามน่าชมมาก**

1. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เขตธนบุรี

          วัดนี้เป็นอีกวัดสำคัญวัดหนึ่งในฝั่งธนบุรี สร้างโดย เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ที่ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณนั้นสร้างเป็นวัด แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ส่วนใหญ่ผู้ที่มาวัดนี้ก็มักจะกราบสักการะ "พระพุทธไตรรัตนนายก" หรือ "หลวงพ่อโตซำปอกง" แต่มีใครทราบบ้างหรือไม่ว่าในพระอุโบสถของวัดนี้มีความแปลกกว่าวัดอื่นตรงที่พระประธานเป็นปางปาลิไลยก์ ซึ่งวัดโดยส่วนมากจะมีพระประธานเป็นปางสมาธิหรือปางมารวิชัย นอกจากที่วัดกัลยาณมิตรแห่งนี้แล้ว ในกรุงเทพฯ ยังมีอีกหนึ่งวัดที่มีพระประธานเป็นปางปาลิไลยก์เช่นกัน นั่นคือ "วัดบางขุนเทียนใน" เขตจอมทอง

          ประวัติของพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์นั้นมีว่าครั้งหนึ่งเหล่าคณะสงฆ์ได้เกิดทะเลาะวิวาทกัน ทำให้พระพุทธเจ้าทรงหลีกหนีไปประทับในป่าแถบหมู่บ้านปาลิไลยกะ ในเวลานั้นได้มีช้างนามว่าปาลิไลยก์นำน้ำร้อนมาถวายพระพุทธเจ้า และยังมีลิงอีกตัวหนึ่งนำรวงผึ้งมาถวาย เมื่อลิงเห็นพระพุทธเจ้าเสวยรวงผึ้งที่ตนนำมาถวายก็ดีใจมากจนก้าวพลาดตกจากต้นไม้ถูกไม้แหลมเสียบอกตาย ภายหลังได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากป่าแล้ว ช้างปาลิไลยก์ก็เสียใจมากจนดวงใจแตกสลายขาดใจตาย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทำนายว่าในภายภาคหน้า ช้างปาลิไลยก์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระสุมงคลพุทธเจ้า

          สำหรับพระประธานในพระอุโบสถวัดกัลยาณมิตรนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ที่กำลังจะสร้างพระประธานในพระอุโบสถวัดนี้ โดยพระอุโบสถจะเปิดให้เข้าสักการะพระประธานในทุกวันพระ

2. วัดอินทารามวรวิหาร เขตธนบุรี

          วัดต่อไปเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในฝั่งธนบุรี คือ "วัดอินทารามวรวิหาร" เดิมชื่อ "วัดบางยี่เรือใต้" มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพอพระราชหฤทัยในวัดนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงธนบุรีวัดนี้ถือเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชด้วย และวัดนี้ยังเคยเป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพกรมพระเทพามาตย์ พระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั่นเอง

          หลังสิ้นกรุงธนบุรี วัดนี้ก็ถูกทิ้งร้าง จนเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นขุนคลังแก้วในสมัยนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ทั้งยังสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงแด่รัชกาลที่ 3 แต่ถูกลดชั้นลงมาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สิ่งสำคัญในวัดนี้คือมีพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และกรมหลวงบาทบริจาริกา (สอน) พระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

          พระพุทธรูปที่แปลกในวัดนี้ไม่ใช่พระประธานในพระอุโบสถครับ แต่จะประดิษฐานในส่วนที่เรียกว่ากุฏิพุทธองค์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 หลัง แต่มีอยู่ 2 หลังที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางที่แปลกและหายาก

          องค์แรกคือ "พระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง" ลักษณะเป็นหีบพระบรมศพและมีพระบาทยื่นออกมา มีพระสงฆ์ 3 รูปกราบสักการะ ซึ่งพระสงฆ์ที่อยู่หน้าสุดก็คือพระมหากัสสปะ โดยมีที่มาจากพุทธประวัติ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานและกำลังจะมีพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ก็ปรากฏว่าไม่สามารถจุดไฟให้ติดได้ ทำให้ผู้คนคิดว่าคงต้องรอให้พระมหากัสสปะที่กำลังอยู่ในระหว่างธุดงค์มาร่วมพิธี ครั้นพระมหากัสสปะมาถึงแล้วได้ก้มลงกราบสักการะพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ก็ปรากฏว่าพระบาทได้ยื่นออกมาจากหีบพระบรมศพ (หรือผ้าห่อพระบรมศพ) คล้ายจะรับการสักการะจากพระมหากัสสปะ แล้วไฟก็ลุกขึ้นมาเองเป็นที่น่าอัศจรรย์

          ต่อจากนั้นเราจะไปชมในกุฏิพุทธองค์อีกหลังหนึ่ง ซึ่งภายในประดิษฐาน "พระพุทธไสยาสน์ตะแคงซ้าย" โดยปกติแล้วพระพุทธไสยาสน์หรือพระนอนจะตะแคงด้านขวา มีที่มาจากพุทธประวัติในตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ คือพระพุทธเจ้าได้เนรมิตพระองค์เองขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง และแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่าง เช่น ถาม-ตอบข้อธรรมะด้วยกัน หรือแสดงปาฏิหาริย์กันไปเป็นคู่ ๆ เช่น พระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้ประทับในท่าตะแคงขวา พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์เนรมิตก็ตะแคงไปทางซ้ายตรงข้ามกัน เป็นต้น

3. วัดราชคฤห์วรวิหาร เขตธนบุรี

          วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดอินทารามวรวิหารนัก โดยวัดนี้สร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงธนบุรี โดยนายกองมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย ต่อมาพระยาพิชัยดาบหักได้บูรณปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถ (ปัจจุบันคือพระวิหาร) ขึ้น และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และพระราชทานนามว่า "วัดราชคฤห์วรวิหาร"

          พระพุทธรูปปางแปลกในวัดนี้คือ "หลวงพ่อนอนหงาย" หรือ "หลวงพ่อประสบสุข" เป็นพระพุทธรูปนอนหงาย ซึ่งก็คือพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง มีที่มาเหมือนกับพระปางถวายพระเพลิงที่วัดอินทารามวรวิหาร สำหรับประวัติพระนอนองค์นี้มีอยู่ 2 แนวทาง คือ

          1. ชาวเมืองธนบุรีซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยาประสบความเดือดร้อนจากโรคระบาด จึงกราบทูลสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้น พร้อมกับหาฤกษ์วางเสาหลักเมืองใหม่ด้วย

          2. พระยาพิชัยดาบหักสร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เพื่อนทหารและชาวบ้านที่ตายในสงคราม

4. วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง

          เรายังอยู่ในฝั่งธนบุรีกันอยู่ คราวนี้เราจะไปกันที่วัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ทำให้พระอุโบสถ พระวิหาร ศิลปกรรมต่าง ๆ ภายในวัดเป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 คือมีศิลปะแบบจีนผสมผสานอยู่

          สิ่งสำคัญในวัดนี้คือพระประธานในพระอุโบสถที่มีนามว่า "พระพุทธมหาจักรพรรดิ" เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระจักรพรรดิราช ซึ่งก็มีที่มาจากพุทธประวัติในตอนปราบพญาชมพูบดี ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่หลงใหลในทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ ความสวยงามอลังการของปราสาทราชวัง หากพบกษัตริย์เมืองใดที่มีปราสาทราชวังสวยกว่าก็จะใช้ศรวิเศษยิงไปร้อยหูเพื่อคุมตัวมากราบสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ จนกระทั่งวันหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารได้ถูกพญาชมพูบดีคุกคาม จึงมาร้องขอให้พระพุทธเจ้าทรงช่วย พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราช เนรมิตพระสาวกทั้งหลายเป็นขุนนางอำมาตย์ เนรมิตพระเวฬุวันมหาวิหารเป็นปราสาทราชวังที่สวยงามยิ่งกว่าของพญาชมพูบดี ครั้นพญาชมพูบดีมาถึงได้พยายามเล่นงานพระพุทธเจ้าด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ พระพุทธเจ้าจึงกลับคืนร่างเดิมและเทศนาพญาชมพูบดีจนเกิดดวงตาเห็นธรรม

          หรืออีกตำนานก็ว่ากันว่าพระพุทธรูปปางทรงเครื่องแบบพระจักรพรรดิราชนี้ หมายถึงพระศรีอาริยเมตไตรยที่ขณะนี้อยู่บนสวรรค์เพื่อรอการจุติลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

          พระพุทธมหาจักรพรรดิ พระประธานในพระอุโบสถวัดนางนองนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เครื่องทรงสามารถถอดแยกจากองค์พระได้ ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำเอามงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิไปไว้บนยอดนภศูลของพระปรางค์วัดอรุณฯ แล้วสร้างมงกุฎองค์ใหม่ถวายแทน ซึ่งบ้างก็ว่าการที่รัชกาลที่ 3 ทรงทำแบบนี้ก็เพื่อที่จะทรงบอกเป็นนัย ๆ ว่า มีพระประสงค์จะให้เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4) ได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ แต่บ้างก็ว่าเป็นธรรมเนียมแต่โบราณอยู่แล้วสำหรับการนำมงกุฎไปไว้บนยอดเจดีย์หรือยอดพระปรางค์


5. วัดเศวตฉัตรวรวิหาร เขตคลองสาน

          วัดนี้เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  2 ต่อรัชกาลที่ 3 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ได้มีการย้ายและปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่

          สำหรับความแปลกของวัดนี้คือมีพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และองค์พระก็อยู่ในท่าของปางมารวิชัยด้วย นามของพระประธานองค์นี้คือ "พระพุทธอังคีรสมุนีนาถ อุรคอาสน์บัลลังก์" (อุรค แปลว่า งู ในที่นี้หมายถึงพญานาค)

          นอกจากนี้แล้วในวัดนี้ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่อยู่กลางแจ้งนามว่า "พระพุทธบัณฑูรมูลประดิษฐ์สถิตไสยาสน์" สร้างโดยพระครูวินัยสังวร (มูล) เจ้าอาวาสรูปแรกหลังจากที่กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ย้ายวัดมาอยู่ในที่ปัจจุบันสร้างขึ้น


6. วัดสุทธาราม เขตคลองสาน

          เป็นวัดที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2411 (ตรงกับปีแรกที่รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์) พระแปลกในวัดนี้ไม่ได้ประดิษฐานในวิหารหรือในโบสถ์ใด ๆ แต่ที่ด้านข้างอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางที่เรียกว่า "ปางพยาบาลภิกษุอาพาธ"

          มีที่มาจากในพุทธประวัติ ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงพบกับพระภิกษุรูปหนึ่งที่อาพาธหนัก ท้องเสียอย่างรุนแรงโดยที่ไม่มีพระภิกษุรูปใดช่วยดูแลเลย พระพุทธเจ้าจึงทรงเข้าไปประคองพระภิกษุรูปนั้น พร้อมกับตรัสให้เหล่าภิกษุสงฆ์ต้องดูแลกันให้ดี


7. วัดทองศาลางาม เขตภาษีเจริญ

          เป็นวัดที่ไม่ปรากฏประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สิ่งที่แปลกของวัดนี้คือพระประธานในอุโบสถอีกแล้วครับ ซึ่งพระประธานในโบสถ์ของวัดนี้เป็นปางแสดงปฐมเทศนา โดยมาจากพุทธประวัติในตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก็มีพระดำริที่จะไปแสดงธรรมโปรดอุทกดาบสและอาฬารดาบส ซึ่งเป็นพระอาจารย์ในช่วงก่อนตรัสรู้ แต่ท่านทั้งสองก็สิ้นชีวิตไปแล้ว ทำให้พระพุทธเจ้าทรงรำลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ปรนนิบัติในช่วงที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันที่ปัญจวัคคีย์พำนักอยู่ และแสดงปฐมเทศนาจนโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา


8. วัดเครือวัลย์วรวิหาร เขตบางกอกใหญ่

          วัดนี้อยู่ใกล้กับวัดอรุณฯ ปัจจุบันเป็นฌาปนสถานกองทัพเรือด้วย สร้างโดย เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) และเจ้าจอมเครือวัลย์ ในรัชกาลที่ 3 ผู้เป็นธิดา ในวัดมีเจดีย์สามองค์ที่บรรจุอัฐิของคนในตระกูลบุณยรัตพันธุ์ด้วย

          สิ่งน่าชมในวัดนี้คือพระประธานในพระอุโบสถที่เป็นปางห้ามญาติ ถือว่าแปลกมากที่มีพระประธานในพระอุโบสถเป็นปางยืน โดยลักษณะของพระประธานนั้นมีความคล้ายกับพระร่วงโรจนฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ จิตรกรรมฝาผนังก็เป็นเรื่องพระเจ้า 500 ชาติ ผมเคยทราบจากพระรูปหนึ่งในวัดว่าพระประธานมีนามว่าพระสรรเพชญ์ ซึ่งหากอยากจะเข้ากราบสักการะพระประธานสามารถไปได้ในเวลา 5 โมงเย็น ที่พระสงฆ์ทำวัตร


9. วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์

          ข้ามไปฝั่งพระนครกันบ้างครับ คือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้เหล่าคนจีนที่เดิมอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันย้ายไปอยู่บริเวณสำเพ็ง หลังจากนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอนุชา บูรณปฏิสังขรณ์วัดปทุมคงคาแห่งนี้ขึ้นใหม่ ว่ากันว่าในสมัยนั้นหากมีช้างต้นในพระบรมมหาราชวังล้มลงก็จะมีการนำอัฐิมาลอยอังคารที่หน้าวัดนี้

          พระประธานในพระอุโบสถวัดนี้ มีนามว่า "พระพุทธมหาชนก" เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราชเหมือนพระประธานวัดนางนอง ว่ากันว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยธรรมดา แต่ก็มีการดัดแปลงให้เป็นปางทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช