ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ตับอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร รู้ทัน ป้องกัน รักษาได้  (อ่าน 81 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 424
    • ดูรายละเอียด
ตับอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร รู้ทัน ป้องกัน รักษาได้

“ตับ” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญทำหน้าที่กรองของเสีย ขจัดสารพิษตกค้างที่ได้รับจากการรับประทานอาหารให้ออกไปจากร่างกาย หากเกิดภาวะตับอักเสบขึ้นมา ก็จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติตามมา และอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งการเกิดตับอักเสบนั้น อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือสาเหตุอื่นๆ อย่างการดื่มแอลกอฮอล์ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สารพิษบางชนิด ฉะนั้นการตรวจคัดกรองสุขภาพตับ หรือตรวจเช็กสุขภาพประจำปี จะช่วยให้สามารถหาแนวทางการป้องกันและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ได้

ตับอักเสบเป็นอย่างไร

ตับอักเสบ คือ ภาวะที่ตับเกิดการอักเสบจากสาเหตุอะไรก็ตาม มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หากการอักเสบของตับไม่หายไปและเป็นแบบเรื้อรัง จะเกิดพังผืด หรือแผลเป็นในเนื้อตับ เมื่อเป็นมากขึ้น จนกระจายทั่วทั้งตับ เรียกว่า ภาวะตับแข็งและมีโอกาสสูงที่จะมีมะเร็งตับแทรกซ้อนขึ้นได้
ตับอักเสบ มี 2 ประเภท

    ภาวะเฉียบพลัน คือ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตามที่การอักเสบหายได้เองในระยะ 6 เดือน
    ภาวะเรื้อรัง คือ ตับอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม ที่ไม่หายเองภายใน 6 เดือน โดยการตรวจเลือดพบมีร่องรอยของการอักเสบ และมักไม่มีอาการบ่งบอกจนกว่าจะถึงระยะสุดท้ายของโรค หรือตับวาย

ตัวการที่ทำให้ตับอักเสบ

ตับอักเสบอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
        ไวรัสตับอักเสบเอ และอี มักมีการติดต่อหรือแพร่เชื้อผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสซึ่งออกมาจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ
        ไวรัสตับอักเสบบี และซี สามารถติดต่อหลักทางเลือด เพศสัมพันธ์ การสักตามร่างกาย เจาะหูหรืออวัยวะต่างๆ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน อาจติดจากมารดาสู่ทารก
        ไวรัสตับอักเสบดี มีการติดต่อจากเลือดของผู้ที่ติดเชื้อโดยตรง และเกิดขึ้นกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เท่านั้น เพราะไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้หากไม่มีไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย เป็นชนิดที่รุนแรงแต่พบได้น้อย
    การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี อาจเป็นเหตุให้ตับเกิดความเสียหายหรืออักเสบได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์ตับ ทำให้เกิดตับแข็ง
    การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิด โดยการใช้ยาเกินปริมาณและเกินระยะเวลาที่กำหนด หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิดในปริมาณน้อยก็อาจสร้างความเสียหายต่อตับได้ เช่น ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟ่น ยารักษาวัณโรค รวมถึงยาฮอร์โมน วิตามินบำรุง หรือสมุนไพรต่างๆ
    ภาวะไขมันพอกตับ สัมพันธ์กับภาวะต่างๆ ได้แก่ โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ตรวจพบโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ การรับประทานอาหารพลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
    สาเหตุอื่นๆ เช่น การติดเชื้อจากโรคไข้เลือดออก ไข้รากสาด ไข้ป่า การอุดกันทางเดินน้ำดี จากภูมิแพ้ตนเอง เป็นต้น

อาการของตับอักเสบ

สามารถพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ แต่ทราบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าตับผิดปกติ เมื่อมีการอักเสบมากขึ้น จะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ภาวะดีซ่าน หรือหากร้ายแรงจนถึงขั้นเรื้อรังจนเซลล์ตับถูกทำลายมากๆ อาจทำให้กลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยตับอักเสบ

มักพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าตับผิดปกติ โดยเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติการเจ็บป่วย เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และอาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยตับอักเสบร่วมด้วย ได้แก่

    การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาค่าการทำงานของตับ ได้แก่ ค่า ALT, AST, ALP ที่ผิดปกติ หรือการตรวจหาเชื้อไวรัส
    การตรวจตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan) เป็นการตรวจไขมันในตับและการตรวจพังผืดในตับ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับรวมถึงระดับพังผืดและตับแข็งได้โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว ใช้เวลาไม่นาน

การรักษาตับอักเสบ

วิธีการรักษาจะแตกต่างกันตามสาเหตุ และความรุนแรงของตับอักเสบ ดังนี้

    จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
        ไวรัสตับอักเสบเอ และอี เป็นการติดเชื้อที่ค่อนข้างเฉียบพลันและหายเองได้ในระยะสั้น แพทย์อาจแนะนำให้นอน พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
        ไวรัสตับอักเสบดี พบได้น้อยมาก ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัส
        ไวรัสตับอักเสบบี เมื่อพบว่าเป็นแบบเฉียบพลันส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เอง หากเป็นแบบเรื้อรังผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาอื่นๆ แพทย์ต้องประเมินการรักษาเป็นประจำ และรักษาอย่างต่อเนื่อง
        ไวรัสตับอักเสบซี ปัจจุบันมียาต้านเชื้อไวรัสชนิดรับประทานที่ได้ผลดี สามารถรักษาจนหายขาดได้
    จากการดื่มแอลกอฮอล์ ควรหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการรักษาด้วยยานั้นจะใช้ในกรณีบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาลดการอักเสบของตับ
    จากการใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิด รักษาได้ด้วยการหยุดใช้ยาหรือสารที่เป็นต้นเหตุ และรักษาตามอาการป่วยอื่นๆ ที่เกิดขึ้น
    จากภาวะไขมันพอกตับ หากพบว่าเป็นไขมันพอกตับ แพทย์จะพิจารณาให้ยารับประทานตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และหลีกเลี่ยงหรืองดความเสี่ยงๆ หรือปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ

การดูแลตัวเองของผู้ป่วยตับอักเสบ

    ควรรับประทานอาหารเหมาะสม เป็นอาหารที่ถูกสุขอนามัย สะอาดและครบทุกหมู่
    หลีกเลี่ยงยาและอาหารเสริมที่ไม่จำเป็น รวมถึงยาสมุนไพร ยาลูกกลอนและอาหารเสริมจำนวนมาก
    ผู้ป่วยตับแข็งควรรับประทานอาหารที่สุก สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง
    หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์ทุกชนิด
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอผู้ป่วยตับอักเสบควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมเหมาะกับวัย เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ
    ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนด ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ทุกครั้งในการใช้ยา
    ควรตรวจเลือดทุก 3-6 เดือนและตรวจอัลตราซาวด์ทุก 6-12 เดือน

ตับอักเสบป้องกันได้อย่างไร

    หลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่
        การเจาะ สักผิวหนัง
        การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
        การใช้ของมีคมร่วมกับบุคลอื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
        การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน
        บุคลากรทางการแพทย์ ควรสวมถุงมือ แว่นตา หรือชุดคลุมเมื่อต้องสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทุกครั้ง
        หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์ เพื่อให้ตับได้พักจากการทำงานหนัก และป้องกันความเสี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์
    หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรพบแพทย์เพื่อประเมินว่ามีความจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ เพื่อป้องกันทารกการติดเชื้อ
    การฉีดวัคซีน โดยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี จะมีประสิทธิภาพดี โดยฉีดเพียง 3 เข็ม (0,1,6 เดือน) สามารถสร้างภูมิต้านทานได้มากกว่าร้อยละ 95 ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต รวมทั้งวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอด้วยเช่นกัน